ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบนของฟอร์ม ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นของระบบเครือข่าย การที่จะนำเอาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น จะต้องมีอุปกรณ์ต่าง ๆดังนี้ คอมพิวเตอร์ ในระบบเครือข่ายจะต้องมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของเครือข่ายที่ใช้ โมเด็ม โมเด็ม (Modem) ย่อมาจากคำว่า "Modulator/Demodulator" กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก เรียกว่า มอดูเลชั่น (Modulation) โมเด็มที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า โมดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เรียกว่า ดีมอดูเลชั่น (Demodulation) โมเด็มที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า ดีโมดูเลเตอร์ (Demodulator)การ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายหรือแลนการ์ด (Network Interface Card : NIC) อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิลคือการ์ดเชื่อมเครือข่าย การ์ดนี้ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิลในเครือข่ายมีลักษณะเป็นช่องเสียบสายเคเบิลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์กับเครื่องพีซีอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องไคลเอนต์ พีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนตัวกลางนำสัญญาณจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง เช่น จากไฟเบอร์ออฟติกมายังโคแอกเชียล บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าเราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกตเวย์ ด้านการรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่าไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย
โปรโตคอลของระบบเครือข่าย
รู้จักกับโปรโตคอลการที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจนั้น จำเป็นต้องมีภาษาในการสื่อสารโดยเฉพาะ สำหรับภาษาของการสื่อสารในคอมพิวเตอร์เรียกว่า โปรโตคอล เป็นระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสาร ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันหรือรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทางได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด โปรโตคอลที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายหลายแบบเช่น NetBEUI ซึ่งเป็นโปรโตคอลอีกตัวหนึ่งที่ใช้ได้ดีในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นหลัก แต่ไม่สามารถทำงานได้เร็วมากนัก นิยมใช้ในระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าอย่าง Windows for Workgroup 3.11 เป็นต้น และก็ยังมีโปรโตคอลอื่นๆ อีกมาก แต่ส่วนมากที่ใช้กันเป็นหลักก็คือโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล
วิธีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง การถ่ายโอนข้อมูลสามารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ
1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิตจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ อุปกรณ์ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย นอกจากนี้อาจมีปัญหาที่เกิดจากระดับไฟฟ้าสายดินที่จุดรับผิดไปจากจุดส่ง ทำให้เกิดการผิดพลาดในการรับสัญญาณทางฝ่ายรับ นอกจากแกนหลักแล้วอาจจะมีทางเดินของสัญญาณควบคุมอื่น ๆ อีก เช่น บิตพาริตี ที่ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทางหรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ (hand-shake)
2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ในการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการตัวกลางสำหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะทางไกลๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้ว ย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน แล้วคอยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 ดังแสดงในรูประบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ประโยชน์ของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าเป็นระบบเครือข่าย สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยการทำงานแบบกลุ่มร่วมงาน (Workgroup) เพื่อสนับสนุนการทำงานให้สำเร็จสมบูรณ์รวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์แบบกลุ่มร่วมงานจะทำให้ทุกๆ แผนกประสานงานกันได้อย่างรวดเร็ว และงานมีคุณภาพดี
2. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน ในระบบเครือข่ายเราสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาแบ่งปันกันใช้งาน หรือใช้งานร่วมกันได้ โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใช้อุปกรณ์นั้นๆ ได้โดยตรง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
3. การเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง การที่เรามีข้อมูลอยู่ 1 ชุด อาจจะเป็นโปรแกรม ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานบริษัท เป็นต้น ถึงแม้จะเป็นข้อมูลส่วนกลางของแผนกอื่นๆ ก็เก็บไว้ส่วนกลางชุดเดียว แล้วเครื่องในระบบเครือข่ายสามารถเอาข้อมูลมาเก็บไว้ในส่วนกลางได้ หรือเราสามารถดึงจากส่วนกลางมาใช้ได้ เราไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้หลายๆ ที่ จะได้ไม่สิ้นเปลืองหน่วยเก็บข้อมูล
4. การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นการส่งข้อความผ่านเครือข่ายโดยไม่ต้องใช้กระดาษ ข้อความที่ส่งไปจะผ่านตามสายเคเบิลหรือสื่อส่งข้อมูลอื่นไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับโดยไม่หล่นหายหรือขาดตกบกพร่อง
การรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย
ในระบบเครือข่ายนั้นจะมีผู้ร่วมใช้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่ประสงค์ดีและประสงค์ร้ายควบคู่กันไป สิ่งที่พบเห็นกันบ่อยๆ ในระบบเครือข่ายก็คืออาชญากรรมทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายประเภทด้วยกันเช่น
1. Hacker หรือ Cracker (จารชนอินเทอร์เน็ต) จารชนอิเล็คทรอนิคส์ ที่มักชอบก่อก่วนสร้างความวุ่นวายหรือทำงานเป็นมืออาชีพ ที่คอยล้วงความลับหรือข้อมูลไปขาย โดยใช้หลายวิธี เช่น
- สนิฟเฟอร์
- ม้าโทรจัน เป็นโปรแกรมที่ลวงให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดว่าเป็นโปรแกรมปกติใดโปรแกรมหนึ่งที่ใช้งานอยู่ เป็นประจำ แต่การทำงานจริงกลับเป็นการดักจับข้อมูเพื่อส่งไปให้แครคเกอร์
- ประตูกล ซึ่งเป็นวิธีพิเศษเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต แครคเกอร์ส่วนใหญ่จะมีชุดซอฟต์แวร์ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเจาะเข้าสู่ระบบตามจุดอ่อนที่มีอยู่ด้วยวิธีการต่างๆ
- เดาสุ่มทุกทาง
- ซอฟต์แวร์ตรวจช่องโหว่ระบบ
2. Virus ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาโดยมุ่งหวังในการก่อกวน หรือทำลายข้อมูลในระบบ การติดไวรัสมักเกิดจากผู้ใช้ไปใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับผู้อื่น แล้วแผ่นนั้นติดไวรัสมา หรืออาจติดไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์มาจากอินเทอร์เน็ต
การรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายมีวิธีการกระทำได้หลายวิธี คือ
1. ควรระมัดระวังในการใช้งาน
2. หมั่นสำเนาข้อมูลอยู่เสมอ การป้องกันการสูญหายและถูกทำลายของข้อมูล 3. ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส
4. การติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall) 5. การใช้รหัสผ่าน (Username & Password) เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด
อ้างอิงจาก
http://learn.wattano.ac.th/learning/userchap26
http://www.skn.ac.th/a_cd/internet/safety.html
http://school.obec.go.th/ckn/network1/new_page_4.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น